top of page

รู้จักโอมิครอน 5 สายพันธุ์ ต่างกันยังไง?



ตอนนี้ทุกคนรู้ว่าโควิด-19 อย่างโอมิครอนที่เราคุ้นชื่อกันดีกลายพันธุ์ได้ไวมาก วันนี้ QUICK DRUG จึงสรุปข้อแตกต่างของ 5 สายพันธุ์ที่ระบาดต่อเนื่อง ไม่มีทีท่าจะจบลงง่าย ๆ มาให้ทุกคนเตรียมพร้อมรับมืออยู่เสมอ มีดังนี้


🦠 โอมิครอน สายพันธุ์ BA.1

ค้นพบครั้งแรกเดือนพฤศจิกายนปี 2564 ที่ทวีปแอฟริกาใต้ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้เป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในระดับน่ากังวล เพราะสามารถแพร่เชื้อและเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายเมื่อเทียบกับสายพันธุ์เบตา และเดลตา

นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มว่าสายพันธุ์นี้จะต้านประสิทธิภาพวัคซีนด้วย เนื่องจากคนที่เคยติดแล้วก็มีโอกาสที่จะติดโควิดสายพันธุ์โอมิครอนซ้ำได้


🦠 โอมิครอน สายพันธุ์ BA.2

ค้นพบเมื่อช่วงต้นปี (มกราคม 2565) โดยสายพันธุ์นี้จะแพร่ระบาดได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ BA.1 ซึ่งความรุนแรงแทบไม่ต่างกันมาก แต่การแพร่เชื้อของสายพันธุ์นี้จะมากกว่าโอมิครอนตัวแม่ถึง 30% แถมยังหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนได้ดีมากขึ้นกว่าโอมิครอนตัวแม่ด้วย ทั้งนี้จะเรียกฉายาว่าเป็น 'โอมิครอนล่องหน' ก็ได้


🦠 โอมิครอน สายพันธุ์ BA.2.2

ค้นพบเมื่อเดือนมีนาคม 2565 ที่ฮ่องกง ซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ของโอมิครอนเดิมที่ระบาดอย่างหนักในฮ่องกงจนพัฒนาเป็นสายพันธุ์ใหม่ และผู้ป่วยสายพันธุ์นี้ที่พบในไทย ก็ไม่มีอาการรุนแรง และไม่พบผู้เสียชีวิตมากไปกว่าสายพันธุ์อื่น รวมถึงการแพร่เชื้อก็ไม่รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่นเช่นกัน นอกจากนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงด้วย


🦠 โอมิครอน สายพันธุ์ XJ

พบครั้งแรกที่ประเทศฟินแลนด์ และพบผู้ติดเชื้อในไทยแล้วเช่นกัน โดยเป็นโควิดลูกผสมระหว่างโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 และ BA.2 ซึ่งมีความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ ส่วนความสามารถในการแพร่ระบาด ความรุนแรงของอาการจะไม่ค่อยแตกต่างไปจากโอมิครอนสายพันธุ์ BA.1 และ BA.2 เท่าไหร่นัก


🦠 โอมิครอน สายพันธุ์ XE

เป็นโอมิครอนสายพันธุ์ BA.1 กับ BA.2 พบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร เดือนมกราคม 2565 และวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศเตือน และแจ้งข้อมูลว่าสายพันธุ์นี้อาจสามารถแพร่กระจายได้รวดเร็วที่สุด


อีกทั้งยังพัฒนาความสามารถด้านการแพร่เชื้อได้เร็วขึ้นกว่าสายพันธุ์ BA.2 ถึง 10% และแพร่ได้รวดเร็วกว่าโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม (BA.1) ถึง 43% ด้วย


🙂เอาเป็นว่าต้องคอยติดตามและระมัดระวังอยู่เสมอ หากไม่มั่นใจหรือมีข้อสงสัยเรื่องสุขภาพ สามารถปรึกษาเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญจากเราได้ เพราะเราห่วงใย และตอบโจทย์ทุกความต้องการได้ครบทั้งยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์


ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์, WHO, กระทรวงสาธารณะสุข, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี



ดู 1 ครั้ง
bottom of page