top of page

รู้ทัน ‘โอไมครอน’ เตรียมพร้อมรับมือยังไงดี ?

อัปเดตเมื่อ 3 มี.ค. 2565

จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ทางปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศยกระดับเตือนภัย เดิมที่ระดับ 3 มาเป็นระดับ 4 นั้น มาดูกันว่า เราจะเตรียมตัว หรือป้องกัน




ทำตามมาตรการอย่างไรบ้าง ❓ดังต่อไปนี้

✅ ปิดสถานที่เสี่ยงแพร่เชื้อ : สถานที่ระบบระบายอากาศไม่ถ่ายเท-แออัด, งดรับประทานอาหาร-ดื่มสุราในร้าน, งดรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น, เลี่ยงไปตลาด-ห้างฯ

✅ ชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด (หากจำเป็นให้ใช้รถส่วนตัว)

✅ เน้นทำงานแบบ Work from Home ให้มากที่สุด 50-80 %

✅ งดกิจกรรมการรวมกลุ่มกับคนจำนวนมาก

✅ เลี่ยงเดินทางออกนอกประเทศ / เข้าประเทศต้องกักตัวในระบบ AQ

✅ ปฏิบัติตัวตามมาตรการ VUCA : โดยเร่งฉีดวัคซีน, ป้องกันตนเองด้วยการทำ Social Distancing / หมั่นล้างมือ / ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน, สถานประกอบการให้ปฏิบัติตามมาตรการ COVID Free Setting และ ตรวจ เป็นประจำ


ใครควรตรวจ ATK และตรวจบ่อยแค่ไหน❓

ผู้ที่มีความเสี่ยง สัมผัสคนจำนวนมาก ควรตรวจคัดกรองเป็นประจำ

โดยพิจารณาตามความเหมาะสม ทั้งสถานประกอบการ หรือแม้แต่ใครก็ตามที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มงาน และจัดว่าตัวเองมีความเสี่ยงสูง มีการพบปะผู้คนจำนวนมาก จำเป็นต้องตรวจทุก 7 วัน หรือทุก 14 วัน



เมื่อตรวจพบว่าติดโควิด-19 ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร❓

🦠 เมื่อตรวจ ATK ที่บ้านแล้วผลเป็นบวก ให้ติดต่อสายด่วน สปสช. 1330 เมื่อติดต่อแล้วภายใน 6 ชั่วโมง จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับเพื่อประเมินอาการ ว่าหากรักษาที่บ้านใน HI ได้ ก็จะแจ้งว่าให้รักษาตัวเองที่บ้าน

🦠 ถ้าไม่สามารถรักษาตัวเองที่บ้านได้ ก็ให้รักษาที่ CI โดยต้องประสานกับสำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งทุกเขตจะมีการจัดเตรียมไว้อยู่แล้ว พร้อมทั้งมีการจัดเตรียม CI สำหรับเด็กและแรงงานต่างด้าวได้แล้วเช่นกัน

🦠 แต่หากอาการหนักให้โทร.1669 เพื่อรับส่งต่อรักษาในโรงพยาบาล ส่วนในต่างจังหวัด แม้จะสามารถโทร.1330 ได้ แต่เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทแต่ละพื้นที่ แนะนำว่าให้ติดต่อเบอร์เฉพาะของแต่ละจังหวัดเองโดยตรงจะเข้าถึงง่ายกว่า

.

หากมีผู้ป่วยโควิด-19 ในบ้าน สมาชิกในบ้านปฏิบัติอย่างไร❓

1.แยกผู้ป่วย : เตรียมห้อง หรือส่วนที่แยกออกจากส่วนอื่นของบ้าน และรักษาระยะห่างจากสมาชิกคนอื่นในบ้าน โดยจัดห้องให้มีการระบายอากาศที่ดี และเปิดหน้าต่างบ่อย ๆ

2.ลดการสัมผัสเชื้อโรค :

-มอบหมายให้สมาชิก 1 คนในบ้านเป็นคนติดต่อกับผู้ป่วย สมาชิกคนนั้นจะต้องไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงสูง และมีการติดต่อกับบุคคลภายนอกน้อยที่สุด

-สวมใส่หน้ากากทางการแพทย์ทุกครั้งที่อยู่ในห้องเดียวกับผู้ป่วย

-ใช้จาน ชาม แก้วน้ำ ภาชนะ และเครื่องนอนแยกกัน

-ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อพื้นผิวที่มีการสัมผัสเป็นประจำ

3.ดูแลผู้ป่วย

เผ้าสังเกตอาการต่าง ๆ ของผู้ป่วยเป็นประจำ ดูแลผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงเป็นพิเศษ รวมถึงจัดให้ผู้ป่วยพักผ่อน และดื่มน้ำมาก ๆ


ขอขอบคุณข้อมูล : จากแถลงประกาศยกระดับเตือนภัยโควิดวันที่ 6 ม.ค. 2565 ของนพ. เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดสธ. และโรงพยาบาลซีจีเอช https://www.cgh.co.th/article-detail.php?item=318

----------------------------------------------------------------------------

💊 ร้านขายยาควิก ดรัก

⏰ ทุกวัน 08.30 – 18.30 น.

ปรึกษาอุ่นใจ สั่งง่าย ส่งเร็ว

Call Center: 02-114-1236

Shopee: https://shopee.co.th/quickdrug

Line: https://lin.ee/AiZeF47

Line My shop: https://shop.line.me/@quickdrug/


#ร้านขายยาควิกดรัก #quickdrug #ร้านขายยานนทบุรี #ร้านขายยาเดลิเวอรี่ #ปรึกษาอุ่นใจ #ควิกดรักห่วงใย #omicron #โอไมครอน #โควิด #โควิด19

ดู 0 ครั้ง