
ผู้สูงวัยกับปัญหาโรคกระดูกพรุนนี่เหมือนเป็นของคู่กัน QUICK DRUG เลยอยากมาชวนทำความเข้าใจ เพื่อป้องกันได้ทันท่วงที ต้องทำยังไงบ้างอ่านต่อได้เลย ❗
🧓 ‘โรคกระดูกพรุน’ เป็นโรคที่เมตาบอลิซึมของกระดูกผิดปกติ มักเกิดขึ้นกับวัยผู้สูงอายุ โดยเมื่อเข้าวัยประมาณ 30 ปี จะเป็นช่วงที่มวลกระดูกมีค่าสูงสุด แล้วหลังจากนั้นจะค่อย ๆ ลดลง ดังนั้นใครที่มีมวลกระดูกสูงน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ก็จะทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้ง่าย
ช่วงแรกจะไม่มีอาการ ทำให้หลายคนไม่รู้ว่าตัวว่าเป็นโรคนี้ ซึ่งกว่าจะได้เข้ารับการรักษาก็ได้รับผลกระทบจากโรคนี้ไปแล้ว เช่น กระดูกแตก หรือหัก บางคนจะมีอาการปวดตามข้อร่วมด้วย
🧓 สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้
นับว่าอายุที่เพิ่มมากขึ้นนั้นเป็นอีกปัจจัยสำคัญ เพราะอัตราการสร้างกระดูกใหม่ลดลง ทำให้เมื่ออายุ 40 ปี อัตราการสลายกระดูกจะสูงกว่าการสร้างกระดูกใหม่ จนมวลกระดูกลดลง และในผู้หญิงจะสูญเสียมวลกระดูกส่วนเปลือกนอกมากกว่าผู้ชาย ตลอดช่วงชีวิต
🧓 ปัจจัยเสี่ยง แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้
1. ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่น ประวัติกระดูกแตก ประวัติกระดูกแตกในญาติสายตรง (โดยเฉพาะทางฝั่งแม่) เชื้อชาติเอเชีย อายุมาก เพศหญิง ความจำเสื่อม สุขภาพอ่อนแอ
2. ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้ เช่น สูบบุหรี่, ผอม (น้ำหนักน้อยกว่า 57.6 กิโลกรัม), ขาดเอสโตรเจน โดยประจำเดือนหมดก่อนอายุ 45 ปี, ถูกตัดมดลูกหรือรังไข่, กินแคลเซียมน้อยตลอดช่วงชีวิต, ดื่มแอลกอฮอล์, ล้ม, สายตาไม่ดี, ไม่ใช้แรง อย่างบางคนที่ไม่ออกกำลังกายหรือไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เป็นต้น
🧓 วิธีป้องกันกระดูกแตก (สำหรับผู้เป็นโรคกระดูกพรุนแล้ว)
- ออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนัก และเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
- กินแคลเซียมและวิตามินอย่างเพียงพอ
- งดบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การรักษา
✅ ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อป้องกันกระดูกแตกเนื่องจากภาวะกระดูกพรุน เช่น ออกกำลังกายเสริมกายเนื้อ
✅ กินแคลเซียมและวิตามินดีอย่างเพียงพอ
✅ การรักษาด้วยยา ไม่สามารถรักษาภาวะกระดูกพรุนให้หายขาดได้ แนะนำว่าให้ใช้ยาสำหรับรักษาภาวะกระดูกพรุนในผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน และผู้ชายอายุ 50 ปี หรือมากกว่า
🙂 หากไม่มั่นใจ ต้องการปรึกษาเรื่องสุขภาพ หรือมีข้อสงสัยสามารถปรึกษาเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญจากเราได้ เพราะเราห่วงใย และตอบโจทย์ทุกความต้องการได้ครบทั้งยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์
ที่มา: บทความวิชาการสำหรับศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
💊 QUICK DRUG : ปรึกษาอุ่นใจ สั่งง่าย ส่งเร็ว
📍 พิกัด : ร้านอยู่ฝั่งตรงข้าม เซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์
⏰ เปิดทุกวัน 08.30 – 18.30 น.
📲 สั่งสินค้า >>
Call Center: 02-114-1236
Shopee: https://shopee.co.th/quickdrug
Line: https://lin.ee/AiZeF47
Line My shop: https://shop.line.me/@quickdrug/
Website: https://www.quickdrug.net/
#ร้านขายยาควิกดรัก #quickdrug #ร้านขายยา #ยา #อุปกรณ์การแพทย์ #อาหารทางการแพทย์ #วิตามิน #อาหารเสริม #atk #สินค้าสุขภาพ #ปรึกษาเภสัชกร #นนทบุรี #เดลิเวอรี่ #ส่งด่วน #ส่งทั่วไทย #grab #kerry #โรคกระดูกพรุน