top of page

4 รูปแบบยาคุมกำเนิด มีข้อดี-ข้อเสีย ยังไงบ้าง?


ยาคุมกำเนิด 4 รูปแบบ เหมาะกับใคร มีข้อดี-ข้อเสีย ยังไงบ้าง ❓

ควิก.ดรักจะมาช่วยไขปัญหาข้อข้องใจ ใครที่ยังสับสนว่าตัวเองเหมาะกับยาคุมรูปแบบไหน ไปดูกันเลย


👉 ยาคุมชนิดเม็ด: เหมาะกับคนที่ไม่ชอบวิธีคุมกำเนิดรูปแบบอื่น ๆ ที่ต้องใส่หรือฝังภายในร่างกาย

ข้อดี: ช่วยบรรเทาความรุนแรงของกลุ่มอาการประจำเดือนได้ด้วย

ข้อเสีย: จำเป็นต้องกินให้ตรงเวลาและเป็นประจำทุกวัน หากลืมกิน ต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดรูปแบบอื่นร่วมด้วย นอกจากนี้ อาจมีอาการข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง อารมณ์แปรปรวน ประจำเดือนมาไม่ปกติ ความดันโลหิตสูง น้ำหนักขึ้น

แม้มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก แต่อาจเสี่ยงเกิดลิ่มเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะหัวใจวาย โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่หรือมีอายุ 35 ปีขึ้นไป อาจเสี่ยงเกิดผลข้างเคียงได้มากขึ้น


👉 ยาคุมชนิดแผ่นแปะ: ผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงจากการใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด

ข้อเสีย: ต้องเปลี่ยนแผ่นแปะคุมกำเนิดใหม่ทุกสัปดาห์ และแม้ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะไม่พบผลข้างเคียง แต่อาจเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง อารมณ์แปรปรวน ประจำเดือนมาไม่ปกติ ความดันโลหิตสูง น้ำหนักขึ้น นอกจากนี้ แม้มีโอกาสไม่มาก แต่อาจเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะหัวใจวาย โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่หรือมีอายุ 35 ปีขึ้นไป อาจเสี่ยงพบผลข้างเคียงได้มากขึ้น และประสิทธิภาพของแผ่นแปะคุมกำเนิดอาจลดลง หากผู้ใช้มีน้ำหนักตัวตั้งแต่ 89 กิโลกรัมขึ้นไป


👉 ยาคุมแบบฉีด

ข้อดี: ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เพียงไปตามกำหนดที่แพทย์นัดหมาย อาจช่วยคุมกำเนิดได้สูงสุด 1 ปี นับจากการฉีดยาครั้งสุดท้าย ขึ้นอยู่กับชนิดของยาคุมกำเนิดที่ใช้

ข้อเสีย: อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีเลือดออกระหว่างรอบเดือน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ รู้สึกซึมเศร้า โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่อาจพบผลข้างเคียงได้มากขึ้น หากใช้ยาฉีดคุมกำเนิดเป็นเวลานาน อาจส่งผลลบต่อความหนาแน่นของกระดูก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุนได้


👉 ยาคุมแบบฝัง: เมื่อฝังยาคุมกำเนิดไปแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีอื่นในการป้องกันการตั้งครรภ์ ตลอดระยะเวลา 3 หรือ 5 ปี (ขึ้นอยู่กับชนิดของยา)

ข้อดี:

- หมดกังวลเรื่องการตั้งครรภ์ หรือปัญหาการลืมกินยาคุมกำเนิด

- หลังจากที่แท้งบุตร ทำแท้ง คลอดบุตร หรือระหว่างที่ให้นมบุตร สามารถฝังยาคุมกำเนิดได้ทันทีและไม่เป็นอันตราย

- ยาฝังคุมกำเนิดไม่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการมีเพศสัมพันธ์

- หากต้องการมีบุตรหรือต้องการหยุดใช้ ก็สามารถนำออกได้อย่างง่าย

- ไม่ต้องกินยาคุมกำเนิดแบบเม็ดทุกวัน ซึ่งช่วยลดโอกาสในการลืมกินยาได้

- ในช่วงปีแรกที่ใช้ยาฝังคุมกำเนิด มีส่วนช่วยลดอาการปวดประจำเดือน และช่วยให้ผู้ที่ประจำเดือนมามากมีประจำเดือนลดลง

ข้อเสีย:

- ในขั้นตอนฝังยาหรือนำยาออกจะต้องฉีดยาชาเฉพาะที่

- เมื่อฝังยาฝังคุมกำเนิดอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งเป็นอาการปกติของปีแรกที่ฝังยา

- บางคนอาจมีประจำเดือนที่มากขึ้นหรือมาถี่ขึ้น โดยเฉพาะในช่วงปีแรกที่เริ่มฝังยา

- บางคนอาจมีประจำเดือนมาไม่ตรงเวลาหรือมาน้อย ซึ่งพบว่า 1 ใน 5 ของผู้ที่ฝังยาคุมกำเนิดจะไม่มีเลือดออกมาเมื่อมีประจำเดือน

- ยาฝังคุมกำเนิดไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Infection: STI) ได้ ดังนั้นจึงควรป้องกันหากมีเพศสัมพันธ์ เช่น ใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้น




💊 QUICK DRUG : ปรึกษาอุ่นใจ สั่งง่าย ส่งเร็ว

⏰ ทุกวัน 08.30 – 18.30 น.

📲 สั่งสินค้า >>

Call Center: 02-114-1236

Shopee: https://shopee.co.th/quickdrug

Line: https://lin.ee/AiZeF47

Line My shop: https://shop.line.me/@quickdrug/

ดู 24 ครั้ง
bottom of page